แบบต่าง ๆ ของ ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิ

บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด กรุณาช่วยปรับปรุงบทความนี้ โดยเพิ่มการอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เนื้อความที่ไม่มีแหล่งที่มาอาจถูกคัดค้านหรือลบออก (May 2007)

ภาวะละเลยข้างเดียว (Unilateral neglect) เป็นกลุ่มอาการต่าง ๆ ซึ่งมีหลายประเภทย่อย และเป็นไปได้ว่า โรคต่าง ๆ หลายอย่างมีการจัดให้มีชื่อเดียวกันอย่างไม่ถูกต้อง มีความเห็นพ้องต้องกันที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ว่า ไม่มีกลไกเพียงอย่างเดียวที่สามารถอธิบายอาการหลากหลายของภาวะนี้ นอกจากนั้นยังปรากฏอีกด้วยว่า ความเสียหายในกลไกหลายอย่าง ๆ รวมตัวกันก่อให้เกิดภาวะละเลย แต่ความเสียหายแต่ละอย่างสามารถมีอยู่ได้โดยลำพังโดยไม่ต้องมีภาวะละเลย

แม้เรื่องของความใส่ใจเพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็นกลไกอย่างหนึ่งในหลาย ๆ อย่างที่เมื่อเสียหายแล้วอาจก่อให้เกิดภาวะนี้ ก็มีความซับซ้อนพอที่จะให้มีการสร้างทฤษฎีหลายอย่างเพื่ออธิบายภาวะละเลยแล้ว ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทำไมจึงยากที่จะแสดงอาการหลายหลากของภาวะละเลยว่ามีเหตุเป็นเขตเฉพาะ ๆ ในประสาทกายวิภาค แต่ว่า แม้ว่าจะมีความจำกัดอย่างนี้ เราสามารถพรรณนาถึงภาวะละเลยข้างเดียวโดยใช้ตัวแปรที่เลื่อมล้ำกันบ้าง คือ ด้านเข้าด้านออก ขอบเขต แกน และแนวทิศทาง

โดยด้านเข้าด้านออก

ภาวะละเลยข้างเดียวสามารถแบ่งออกเป็นโรคทางด้านเข้า และโรคทางด้านออก ภาวะละเลยด้านเข้า หรือ ความไม่ใส่ใจ (inattention) คือการละเลยสิ่งที่เห็น เสียง กลิ่น และตัวกระตุ้นสัมผัสทางด้านตรงข้ามของสมอง ที่น่าประหลาดใจก็คือ ความไม่ใส่ใจนี้เป็นไปแม้แต่ในตัวกระตุ้นคือความคิด ในภาวะที่เรียกว่า “representational neglect” (ภาวะละเลยตัวแทน) คือ คนไข้อาจละเลยความจำ ความฝัน หรือแม้แต่ความหลอน ทางด้านซ้ายของร่างกาย

ภาวะละเลยด้านออก เป็นความบกพร่องในระบบสั่งการ (motor) และก่อนระบบสั่งการ (pre-motor) คนไข้มีภาวะละเลยในระบบสั่งการจะไม่ใช้แขนขาในด้านตรงกันข้าม แม้ว่าจะมีความสามารถทางกล้ามเนื้อและประสาทในการทำอย่างนั้น ส่วนบุคคลผู้มีภาวะละเลยก่อนระบบสั่งการ หรือที่เรียกว่า "directional hypokinesia" สามารถจะเคลื่อนแขนขาที่ปกติไปอย่างปกติในปริภูมิด้านเดียวกัน แต่ประสบความยากลำบากในการเคลื่อนแขนขาไปในปริภูมิด้านตรงกันข้าม ดังนั้น คนไข้ภาวะละเลยก่อนระบบสั่งการอาจต้องดิ้นรนเพื่อหยิบจับวัตถุทางด้านซ้ายแม้ว่าจะสามารถใช้แขนขวาได้อย่างปกติ

โดยขอบเขต

ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิมีขอบเขตที่กว้างขวางโดยสิ่งที่คนไข้ละเลย ขอบเขตอย่างแรกที่เรียกว่า ภาวะละเลยมีตนเป็นศูนย์ (egocentric neglect) ย่อมพบได้ในคนไข้ที่ละเลยกายหรือปริภูมิที่ตัว (personal space) ของตน[6] คนไข้เหล่านี้มักจะละเลยด้านตรงกับข้ามของรอยโรค ตามแนวกลางของกาย ของศีรษะ หรือของเรตินา[7] ยกตัวอย่างเช่น ในการทดสอบที่ตรวจจับโอกาสที่ละเลย คนไข้ภาวะละเลยมีตนเป็นศูนย์ทางด้านซ้ายมักจะทำผิดในด้านขวาสุดของหน้ากระดาษ เพราะละเลยปริภูมิในด้านขวาของลานสายตา[8]

ภาวะละเลยมีขอบเขตอย่างต่อไปเรียกว่า ภาวะละเลยมีวัตถุอื่นเป็นศูนย์ (allocentric neglect) ที่คนไข้ละเลยปริภูมิรอบ ๆ ตน (peri-personal) หรือปริภูมินอกปริภูมิรอบ ๆ ตน (extrapersonal) ปริภูมิรอบ ๆ ตน หมายถึงปริภูมิที่คนไข้สามารถเอื้อมไปถึง เปรียบเทียบกับปริภูมินอกปริภูมิรอบ ๆ ตน ซึ่งหมายถึงวัตถุและสิ่งแวดล้อมภายนอกระยะที่กายสามารถเข้าไปสัมผัสหรือเอื้อมถึง[6]

คนไข้ภาวะละเลยมีวัตถุอื่นเป็นศูนย์ มักจะละเลยด้านตรงข้ามกันของวัตถุแต่ละชิ้น ไม่ว่าวัตถุจะปรากฏอยู่ที่ด้านไหนของคนไข้[7] ยกตัวอย่างเช่น ในการทดสอบตรวจจับโอกาสที่ละเลยที่พึ่งกล่าวถึง คนไข้ที่มีภาวะละเลยด้านขวาจะทำผิดในทุกบริเวณของหน้ากระดาษ โดยละเลยด้านขวาของวัตถุแต่ละอย่าง[8]

ความแตกต่างนี้สำคัญ เพราะว่า การทดสอบโดยมากตรวจสอบภาวะละเลยในเขตที่เอื้อมถึง หรือปริภูมิรอบ ๆ ตน แต่คนไข้ที่สอบผ่านการทดสอบมาตรฐานของภาวะละเลยที่ว่านี้ ด้วยกระดาษและดินสอ อาจจะไม่สนใจแขนข้างซ้าย หรืออาจไม่สังเกตเห็นวัตถุที่ไกลทางด้านซ้ายของห้องอยู่ดี

ในกรณีของโรค somatoparaphrenia[9] ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเพราะภาวะละเลยปริภูมิที่ตัว คนไข้อาจจะปฏิเสธความเป็นเจ้าของของแขนขาในด้านตรงข้าม ในหนังสือชื่อว่า "ชายผู้สับสนภรรยาของตนว่าเป็นหมวก"[10] แซคส์ (ค.ศ. 1985) พรรณนาถึงคนไข้คนหนึ่งที่ตกจากเตียง หลังจากที่ผลักสิ่งที่เขารู้สึกว่า เป็นขาที่ขาดออกจากซากศพ (ซึ่งความจริงแล้วเป็นขาของเขาเอง) ที่พนักงานได้ซ่อนไว้ภายใต้ผ้าห่มของเขา. คนไข้บางคนอาจจะกล่าวว่า "ผมไม่รู้ว่านั่นเป็นมือของใคร แต่ว่า น่าจะถอดแหวนของผมออกมาด้วย" หรือว่า "นี่เป็นแขนปลอมที่มีใครเอามาใส่ให้ผม ผมได้ส่งลูกสาวของผมให้ไปหาแขนจริงของผมแล้ว"

แกน

การทดสอบภาวะละเลยโดยมากตรวจสอบความผิดพลาดทางด้านขวาหรือด้านซ้าย แต่คนไข้อาจจะละเลยตัวกระตุ้นทางด้านหนึ่งของแกนแนวขวาง ยกตัวอย่างเช่น เมื่อให้วงกลมดวงดาวทั้งหมดในหน้ากระดาษ คนไข้อาจจะค้นเจอเป้าหมายทั้งด้านซ้ายและด้านขวาของหน้ากระดาษ ในขณะที่ละเลยดวงดาวทางด้านบนหรือด้านล่าง

ในงานวิจัยเร็ว ๆ นี้ นักวิจัยให้คนไข้ภาวะละเลยด้านซ้ายแสดงแนวกลางกายด้วยหลอดไฟนีออน แล้วพบว่าคนไข้มักจะชี้ตรงไปข้างหน้า ในตำแหน่งที่ไปทางด้านขวามากกว่าแนวกลางจริง ๆ ความเคลื่อนไปเช่นนี้ อาจจะอธิบายถึงความสำเร็จของวิธีการรักษาโดยใช้แว่นปริซึม ซึ่งขยับปริภูมิสายตาทางด้านขวาไปทางด้านซ้าย การขยับข้อมูลทางสายตาอย่างนี้ ปรากฏว่า เข้าไปแก้ปัญหาของความรู้สึกว่าอะไรเป็นแนวกลางในสมอง วิธีนี้ไม่ใช่เพียงแค่ทำภาวะละเลยทางสายตาเท่านั้นให้ดีขึ้น แต่ทำภาวะละเลยทางประสาทสัมผัส ประสาทสั่งการ และ “representational neglect” (ภาวะละเลยตัวแทน) ให้ดีขึ้นด้วย

แนวทิศทาง

คำถามที่สำคัญในใช้ในงานวิจัยภาวะละเลยก็คือ "ด้านซ้ายของอะไรเล่า" คำตอบนั้นพิสูจน์แล้วว่า ซับซ้อน คนไข้อาจจะละเลยวัตถุที่อยู่ทางด้านซ้ายของแนวกลางของตน (ภาวะละเลยมีตนเป็นศูนย์) หรืออาจจะเห็นวัตถุทุกชิ้นในห้องแต่ละเลยด้านซ้ายของวัตถุแต่ละชิ้น (ภาวะละเลยมีวัตถุอื่นเป็นศูนย์)

ประเภทใหญ่ ๆ ทั้งสองนั้นอาจจะแบ่งออกไปได้อีก คนไข้ภาวะละเลยมีตนเป็นศูนย์อาจละเลยตัวกระตุ้นทางด้านซ้ายของตัว ศีรษะ หรือเรตินา คนไข้ภาวะละเลยมีวัตถุอื่นเป็นศูนย์อาจจะละเลยด้านซ้ายของวัตถุที่ปรากฏจริง ๆ หรือบางครั้ง ซึ่งเป็นที่น่าแปลกใจ อาจจะกลับด้านทำให้ตรงซึ่งวัตถุที่กลับด้านอยู่หรืออยู่เอียง ๆ แล้วจึงละเลยด้านที่ถูกแปลความหมายว่าเป็นด้านซ้าย

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคนไข้มองดูรูปถ่ายหรือใบหน้าตีลังกา คนไข้อาจจะกลับวัตถุนั้นให้มีหัวขึ้นในใจ แล้วละเลยด้านซ้ายของวัตถุกลับหัวนั้น นี่เกิดขึ้นด้วยในรูปที่เอียง หรือภาพสะท้อนในกระจกที่กลับด้านซ้ายขวา คนไข้ที่มองที่รูปกระจกที่กลับด้านของแผนที่โลก อาจจะละเลยการเห็นซีกโลกตะวันตก แม้ว่าส่วนนั้นที่กลับด้านอยู่จะอยู่ทางด้านขวาของกระจก (ทั้ง ๆ ที่เราอาจคิดว่า คนไข้ควรละเลยซีกโลกตะวันออกซึ่งอยู่ด้านซ้ายของกระจก)

ใกล้เคียง

ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิ ภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำลึก ภาวะลดรูป ภาวะลวงตา ภาวะโลกร้อน ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะสมองเสื่อม ภาวะไม่รู้ใบหน้า

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิ http://psyche.cs.monash.edu.au/v1/psyche-1-08-walk... http://www.undergrad.ahs.uwaterloo.ca/~aktse/unila... http://www.emedicine.com/neuro/topic719.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=781.... http://cydai.wikispaces.com/file/view/Right+hemisp... http://ccn.upenn.edu/chatterjee/anjan_pdfs/p181_s.... http://marsicanus.free.fr/Publications/2007_Curr_O... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12511859 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17174459 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17620870